ทำความรู้จักกับยาง
สวัสดีทุกท่านครับ RFF ยินดีอย่างยิ่งที่ท่านเข้ามาเยี่ยมชมเวปไซต์ของเรา สำหรับหลายท่านคงมีความสงสัยว่า ชุดแฟชั่นยางที่จำหน่ายในเวปของเราผลิตมาจากอะไร เพื่อคลายความสงสัยดังกล่าว RFF จึงของอนุญาตนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับยางให้ทุกท่านได้ทราบและเข้าใจกันครับ
ความเป็นมาเกี่ยวกับยาง
ชาวพื้นเมืองในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เรียกต้นไม้ที่ให้ยางว่า คาอุท์ชุค [Caoutchouc] แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปีพศ. 2313 (1770) โจเซฟ พริสลี่ จึงพบว่า ยางสามารถลบ รอยดำของดินสอได้โดยที่กระดาษไม่เสีย จึงเรียกยางว่า ยางลบหรือตัวลบ [Rubber] ซึ่งเป็น คำเรียกยางเฉพาะในอังกฤษและฮอลแลนด์เท่านั้น ส่วนใน ประเทศยุโรปอื่นๆ ในสมัยนั้น ล้วนเรียกยางว่า คาอุท์ชุก ทั้งสิ้น จนถึงสมัยที่โลกได้มีการปลูกยางกันมากในประเทศแถบ อเมริกาใต้นั้น จึงได้ค้นพบว่า พันธุ์ยางที่มีคุณภาพดีที่สุดคือยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis ซึ่ง มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์ Hevea ธรรมดามาก จึงมีการปลูกและซื้อขายยางพันธุ์ดังกล่าวกัน มาก และศูนย์กลางของการซื้อขายยางก็อยู่ที่เมืองท่าชื่อ พารา [Para] บนฝั่งแม่น้ำอเมซอน ประเทศบราซิล ด้วยเหตุดังกล่าว ยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยางพารา และเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้
ยางมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่างที่มีความสำคัญต่อมนุษย์คือ มีความยืดหยุ่น [Elastic] กัน น้ำได้ เป็นฉนวนกันไฟได้ เก็บและพองลมได้ดี เป็นต้น ดังนั้นมนุษย์จึงยังจะต้องพึ่งยางต่อ ไปอีกนาน แม้ในปัจจุบัน มนุษย์สามารถผลิตยางเทียมได้แล้วก็ตาม แต่คุณสมบัติบางอย่าง ของยางเทียมก็สู้ยางธรรมชาติไม่ได้ ในโลกนี้ยังมีพืชอีกมากมายหลายชนิดที่ให้น้ำยาง [Rubber Bearing Plant] ซึ่งอาจจะมีเป็นพันๆ ชนิดในทวีปต่างๆ ทั่วโลก แต่น้ำยางที่ได้จาก ต้นยางแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป บางชนิดก็ใช้ทำอะไรไม่ได้เลย แต่ยาง บางชนิดเช่น ยางกัตตาเปอร์ชาที่ได้จากต้นกัตตา [Guttar Tree] ใช้ทำยางสำเร็จรูปเช่น ยางรถยนต์ หรือรองเท้า ไม่ได้แต่ใช้ทำสายไฟได้ หรือยางเยลูตง และยางบาลาตา ที่ได้ จากต้นยางชื่อเดียวกัน ถึงแม้จะมีความเหนียวของยาง [Natural Isomer of Rubber] อยู่ บ้าง แต่ก็มีเพียงสูตรอณู [Melecular Formula] เท่านั้นที่เหมือนกัน แต่โดยที่มี HighRasin Content จึงเหมาะที่จะใช้ทำหมากฝรั่งมากกว่า ยางที่ได้จากต้น Achas Sapota ในอเมริกา กลาง ซึ่งมีความเหนียวกว่ายางกัตตาเปอร์ชาและยางบาลาตามาก คนพื้นเมืองเรียกยางนี้ ว่า ชิเคิ้ล [Chicle] ดังนั้น บริษัท ผู้ผลิตหมากฝรั่งที่ทำมาจากยางชนิดนี้จึงตั้งชื่อหมากฝรั่ง นั้นว่า Chiclets
วิวัฒนาการของยาง
โลกเพิ่งจะมีโอกาสรู้จักและใช้ประโยชน์จากยางเมื่อประมาณปลายคริสต์ศตวรรษ ที่ 15 นี้ เอง ในขณะที่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้ค้นพบโลกใหม่เดินทางไปอเมริกาในครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.. 2036 (1493) ก็ได้พบว่า มีชาวพื้นเมืองบางเผ่าทั้งในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ได้รู้จักและใช้ประโยชน์จากยางกันบ้างแล้ว เช่น ชาวพื้นเมืองในอเมริกากลางที่ทำรองเท้า
จากยางโดยการใช้มีดฟันต้นยาง แล้วรองน้ำยางใส่ภาชนะ หลังจากนั้น จึงเอาเท้าจุ่มลง ไปในน้ำยางนั้น หรือเอาเท้าวางไว้บนภาชนะแล้วเทน้ำยางราดลงบนเท้า ก็จะได้รองเท้า ที่เข้ากับเท้าพอดี หรือบางเผ่าในอเมริกาใต้ทำเสื้อกันฝนและผ้ากันน้ำจากยาง หรือเผ่ามา ยันในอเมริกาใต้ ที่ทำลูกบอลด้วยยาง แล้วนำมาเล่นโดยการให้กระเด้งขึ้นลงเพื่อเป็นการ สักการะเทพเจ้า จึงทำให้โคลัมบัสและคณะมีความแปลกใจเป็นอันมาก และคิดกันไปว่า ในลูกกลมๆที่เด้งได้นั้น ต้องมีตัวอะไรอยู่ข้างในเป็นแน่ หลังจากนั้นเมื่อโคลัมบัสเดินทาง กลับยุโรป ก็ได้นำวัตถุประหลาดนั้นกลับไปด้วย โคลัมบัสจึงเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ได้มีโอกาสสัมผัสยาง และนำยางเข้าไปเผยแพร่ในยุโรป
การส่งยางเข้ามาในยุโรปในระยะแรกนั้นต้องใช้เวลานานมาก กว่าที่ยางจะเดินทางจาก แหล่งกำเนิดจนมาถึงยุโรป ยางก็จะจับตัวกันเป็นก้อนเสียก่อน ดังนั้น ยางที่เข้ามาในยุโรปสมัยแรกๆ นั้น จึงเป็นยางที่ผลิตเป็นสินค้าแล้วเนื่องจากมนุษย์ยังไม่รู้จักวิธีที่จะทำ ให้ยางที่จับตัวกันเป็นก้อน ให้ละลายและทำเป็นรูปทรงที่ต้องการได้อย่างไร การผลิต ยางจึงต้องทำทันทีหลังจากได้น้ำยางมาก่อนที่ยางจะจับตัวกันเป็นก้อน ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เช่น ในประเทศเม็กซิโก ก็มีหลักฐานว่าได้มีการใช้ประโยชน์จากยางกันบ้างแล้ว แต่เป็นการผลิตอย่างง่ายๆเช่น ทำผ้า ยางกันน้ำ ลูกบอล และ เสื้อกันฝน เป็นต้น
สำหรับประเทศไทย ได้มีการนำยางพาราเข้ามาปลูกนับแต่ปี พ.ศ.2425 และได้มีการพัฒนาจนเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยสามารถผลิตยางคุณภาพอันดับต้นๆของโลก และส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราสู่ประเทศอื่นๆ เป็นอันดับต้นๆของโลกเช่นกัน
[ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก องค์การสวนยาง]
ยางกับวงการแฟชั่น
สำหรับในวงการแฟชั่น หรือการผลิตเสื้อผ้าโดยยาง หรือที่เรียกว่า Rubber หรือ Latex นั้น ไม่มีใครทราบจุดเริ่มต้นได้แน่ชัด แต่ที่พอทราบได้คือ นับแต่ปี พ.ศ.2483 ในแถบยุโรป ได้มีการนำชุดดำนํ้าทำจากยาง มาสวมใส่กันในแนวแฟชั่น ต่อมาจนกระทั่งในช่วงประมาณปี พ.ศ.2503 ได้มีการพัฒนาชุดยางใช้กับวงการบันเทิงต่างๆ เช่น TV series เรื่อง The Avengers ของประเทศอังกฤษ ได้มีการนำชุดยางมาใช้ให้ตัวละครสวมใส่ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/The_Avengers_%28TV_series%29 ซึ่งถือเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับบุคคลทั่วไปในสมัยดังกล่าว อย่างไรก็ดี กระแสแฟชั่นชุดยาง ยังได้รับความนิยมในแถบยุโรปดังกล่าว เพราะภูมิประเทศในบริเวณดังกล่าวจะมีอากาศหนาวจัด ซึ่งการสวมใส่ชุดยาง สามารถให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเป็นอย่างดีได้อีกด้วย
หลังจากเริ่มมีกระแสแฟชั่นชุดยางเกิดขึ้นในแวดวง สังคมต่างๆในยุโรป ส่งผลให้การผลิตชุดยางมีวิวัฒนาการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้ชุดสวยและกระชับมากขึ้น เช่น การพัฒนาการนำนํ้ายางดิบ มาผลิตโดยใช้กรรมวิธีทางอุตสาหกรรมผลิตออกมาเป็น แผ่นยาง หรือเรียกว่า LATEX SHEET หรือ RUBBER SHEET ซึ่งมีความหนาหลายระดับ เช่น 0.4 มิลลิเมตร 0.5 มิลลิเมตร 1 มิลลิเมตร 2 มิลลิเมตร เป็นต้น ความหนายิ่งมาก ยิ่งยืดหยุ่นได้น้อย แต่ความรัดตัวจะมาก ในทางกลับกับ หากความหนาน้อยจะยืดหยุ่นได้มาก แต่ความรัดตัวก็ยังคงมีอยู่ และสวมใส่สบายกว่ายางที่หนามากๆ นอกจากความหนาแล้ว วงการแฟชั่นชุดยางยังได้พัฒนาสีสันของยาง ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ ชุดยางจะเงาได้นั้น จำเป้นต้องใช้ สารซิิลิโคน ที่ใช้นํ้าเป็นส่วนผสมหลัก (Water Based) ชโลมลงบนชุดยาง เพื่อให้ความเงามากยิ่งขึ้น และยังเป็นการถนอมชุดยางได้อีกทางหนึ่งด้วย และสิ่งที่สำคัญประการสุดท้ายเกี่ยวกับการพัฒนานั้นก็คือ การนำชุดยางมาตัดต่อทากาว โดยใช้แพทเทินการตัดเย็บที่ทันสมัย ตัดเป็นชุดบอดี้สูท ชุดว่ายนํ้า ฯลฯ ทำให้ชุดออกมาสวยงามหลากหลายรูปแบบอีกด้วย
สำหรับในปัจจุบัน นอกจากแฟชั่นชุดยางเป้นที่นิยมหลากหลายในทั่วโลกแล้ว วงการบันเทิงภาพยนต์ ยังได้นำชุดยางมาใช้ในการประกอบการแสเดงอย่างหลากหลาย เช่น ภาพยนต์เรื่อง Charlie's Angels: Full Throttle http://en.wikipedia.org/wiki/Charlie%27s_Angels:_Full_Throttle , ภาพยนต์เรื่อง The Matrix http://en.wikipedia.org/wiki/The_Matrix เป็นต้น และยังมีการนำชุดยางใช้ในการเดินแฟชั่นต่างๆ ด้วย เช่น http://altfashion.co.uk/news2/blog1.php/2010/04/15/am-statik-latex-couture-alternative-fashion-week
แฟชั่นชุดยางในไทย
สำหรับในประเทศไทย แฟชั่นชุดยางยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากการสวมใส่ชุดยางไม่เหมาะกับสภาพอากาศในไทยที่ร้อนจัด อย่างไรก็ดี ก็สามารถสวมใส่ในการแสดง หรือเพื่อตอบสนองความชื่นชอบส่วนบุคคลตามที่ต้องการ และประการที่สำคัญ แม้ว่าประเทศไทย สามารถผลิตยางพาราอันเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตชุดยางก็ตาม แต่ด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีและการตลาดที่ไม่มีผู้บริโภคมากนัก จึงไม่มีผู้ผลิตรายใด ผลิตชุดยางออกมาจำหน่าย และที่ผ่านมาผู้ที่ต้องการสวมใส่ก็ต้องสั่งซื้อหรือนำเข้ามา และมีราคาแพงอย่างมาก อย่างไรก็ดี สำหรับ RFF นี้ เป็นทางเลือกหนึ่งในการตอบสนองความต้องการของท่าน แ้ม้ว่าสินค้าจะนำเข้ามาจากต่างประเทศก็ตาม แต่ราคาเหมาะสม และไม่แพงจนเกินไป และชุดก็มีคุณภาพดี สวมใส่ได้อย่างปลอดภัย เพราะผลิตจากยางพาราธรรมชาติ
สุดท้ายนี้ RFF หวังว่าบทความนี้ คงทำให้ท่านได้รู้จักกับแฟชั่นชุดยางในเบื้องต้น ขอบพระคุณมากครับ /// นายเอส 25 เมษายน 2553